asstle.com http://asstle.siam2web.com/

รู้จักกับตัวต้านทาน (Resistor) ตัว ต้านทาน ตัวรีซิสเตอ์ หรือตัว อาร์ (R) ที่เรามักนิยมเรียกกัน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแส ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะใช้งานได้ที่กระแสไฟฟ้าระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเราจึงใช้ตัวต้านทาน กันไม่ให้มีกระแสไหลเข้าไปยังอุปกรณ์ดังกล่าวเกินความจำเป็น
ค่าของตัวต้านทานจะมีหน่วยเป็น โอห์ม เช่น 10 โอห์ม 12 กิโลโอห์มเป็นต้น และขนาดของตัวต้านทานจะเรียก เป็นกำลังวัตต์(W) และมีขนาดตั้งแต่ 1/8W 1/4W(เรานิยมใช้กัน) 1/2W 1W 2W 3W 5W ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยการเลือก ใช้ตัวต้านทานนั้นต้องเลือกค่า เลือกขนาดกำลัง และชนิดของตัวต้านทานให้ถูกต้องด้วย เพราะหากเลือกผิดจะเป็นผลเสียต่อ วงจรที่เราออกแบบไว้ด้วย
 

รูปตัวต้านทานแบบค่าคงที่ สัญลักษณ์ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ รูปตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ และ LDR

 

 

ชนิดของตัวต้านทาน (Resistor)
ตัวต้านทานนั้นแบ่งไปเป็นหลายแบบ เช่น ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (เช่นพวก โวลุ่ม VR ต่างๆ) ตัวต้านทานเลือกค่าได้ ตัวต้านทานชนิดพิเศษ(เช่น LDR หรือ ตัวต้านทานไวแสง) แต่ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนตัวต้านทานแบบค่าคงที่ซึ่งที่เราพบเห็นบ่อย ๆจะมีดังนี้คือ
ตัวต้านทานแบบคาร์บอน (ผิดพลาด 5%)
ตัวต้านทานแบบฟิมล์ (ผิดพลาด 1%)
ตัวต้านทานแบบกระเบื้อง หรือ เซรามิด (3W ขึ้นไป)
 

ตัวต้านทานชนิดคาร์บอน
ตัวต้านทานชนิดนี้เรามักจะพบเห็ยอยู่เสมอในงานทางด้านอิเล็กทริอนิกส์ โดยสังเกตุดังต่อไปนี้ สีของตัวต้านทานจะเป็นสีน้ำตาล , แถบสีที่ปรากฎบนตัวต้านทานจะมี 4 แถบสี โดยที่มี 4 แถบสีจะบอกถึงค่าผิดพลาดของตัวต้านทาน 5 % หมายความว่าหากเราอ่านค่าได้ 100โอห์ม ค่าที่แท้จริงตัวต้วต้านทานจะอยู่ในช่วง 100โอห์ม +/- 5% ตัวต้านทานแบบนี้จะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8W , 1/4W ,1/2W 1W และนิยมใช้ในงานทั่วไปเพราะหาซื้อง่ายราคาถูก
 

ตัวต้านทานชนิดฟิล์ม
ตัวต้านทานชนิดนี้จะเหมือนกับตัวต้านทานแบบคาร์บอน แต่สังเกตุความแตกต่างคือ สีของตัวต้านทานจะเป็นสีน้ำเงิน , แถบสีที่ปรากฎบนตัวต้านทานจะมี 5 แถบสี โดยที่มี 5 แถบสีจะบอกถึงค่าผิดพลาดของตัวต้านทาน 1 % หมายความว่าหากเราอ่านค่าได้ 100โอห์ม ค่าที่แท้จริงตัวต้วต้านทานจะอยู่ในช่วง 100โอห์ม +/- 1% ตัวต้านทานแบบนี้จะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8W , 1/4W ,1/2W 1W และนิยมใช้ในงานทั่วไปหรือในงานที่ต้องการค่าเที่ยงตรงสูงเช่น ในเครื่องมือวัด เครื่องมือแพทย์ โดยราคาจะสูงกว่าแบบคาร์บอน
 

ตัวต้านทานชนิดลวดพัน หรือ เซรามิค หรือ กระเบื้อง
ตัวต้านทานชนิดนี้ภายในจะพันด้วยขดลวด รูปร่างภาพนอกจะเป็นกระเบื้อง และมีกำลังวัตต์สูงกว่า คือตั้งแต่ 3W , 5W ,10W, 15W ขึ้นไป และมีค่าผิดพลาดสูง คือ 5% 10% โดยค่าของตัวต้านทาน จะพิมพ์ไว้ที่ตัวต้านทางเองเลย ตัวต้านทานชนิดนี้ใช้ในงานทั่วไป

 

การอ่านค่าตัวต้านทานและการแปลงค่าตัวต้านทาน
ค่าของตัวต้านทานจะมีค่าในช่วง 0 โอห์ม - ประมาณ 5เมกกะโอห์ม ( ต่อไปจะแทน โอห์ม ด้วย E นะครับ) ดังนั้นหากเรา เขียนค่าที่มีค่ามากเช่น 1000E หรือ 1000000E คงจะยาวไปดังนั้นจึงใช้หน่วยมาตราฐานแทนตัวย่อ ดงต่อไปนี้ครับ 1000 เขียนแทนด้วย k (กิโล)เช่น 1000E จะเขียนเป็น 1kE(1 กิโลโอห์ม)
100,000 เขียนแทนด้วย 100kE (หนึ่งร้อยกิโลโอห์ม) เป็นต้น
1 ,000,000 จะเขียนแทนด้วย M (เมกกะ) เช่น 2,000,000E จะเขียนเป็น 2M (2 เมกกะโอห์ม) , 3,300,000E เขียนแทน ด้วย 3.3ME(3.3เมกกะโอห์ม) เป็นต้นครับ ซึ่งหากเราดูแล้วค่าของตัวต้านทานจะไม่เกินหน่วย เมกกะโอห์ม

การอ่านค่าตัวต้านทาน 4 แถบสี
โดยเราจะแบ่ง แถบสีออกเป็น 3 ช่วงแถบสีดังนี้ 2 แถบสีแรกเป็นค่าทั่วไป แถบสีต่อมา จะเป็นจำนวนเลข 0 เท่ากับจำนวนค่านั้นๆ ส่วนแถบสีสุดท้ายจะเป็นค่าความผิดพลาดซึ่ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นสีทอง ซึ่งจะมีค่าผิดพลาด 5%

 

แถบสีของตัวต้านทานจะเรียงลำดับจาก 1 ไป 4 โดยสังเกตุตำแหน่งที่ 1 จะอยู่ชิดด้านหน้า และตำหน่งที่ 4 ส่วนใหญ่จะเป็นสีทอง ซึ่ง code สีจะมีค่า เฉพาะดังต่อไปนี้

 



 

 


การอ่านค่าตัวต้านทาน 5 แถบสี
ในการอ่านค่าตัวต้านทานแบบนี้จะเหมือนกับการอ่านค่าตัวต้านทาน 4 แถบสี โดยเราจะใช้ 3 แถบสีแรกเป็นตัวตั้ง แถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณ และแถบสีสุดท้ายเป็นค่าผิดพลาดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง
 

 


  ตัวต้านทาน หรือ Resistor มีหน้าที่คือ ช่วยควบคุมค่าความต้านทานในวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้คือ
  1. จำกัดขนาดของกระแสไฟฟ้าให้มีค่าได้ตามต้องการ
  2. ลดแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าให้มีค่าได้ตามต้องการ
  3. แบ่งแรงดันไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับโหลดแต่ละประเภท
  4. ทำให้คาปาซิเตอร์คายประจุไฟฟ้า
ตัวต้านทานส่วนใหญ่ทำจากโลหะผสมบรรจุอยู่ในวัสดุรูปทรงกระบอก มีสัญลักษณ์ดังรูปด้านล่าง

สูตรการคำนวนความต้านทานในวงจรมี 2 แบบคือ ต่อแบบขนานและแบบอนุกรม
ความต้านทานรวม R = R1 + R2 +...
ความต้านทานรวม 1/R = 1/R1 +1/R2 +...


« 

ชนิดของตัวต้านทาน

ตัวต้านทานที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่มากมายหลายชนิดและหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถจำแนกพวกของตัวต้านทานตามลักษณะของการใช้งานได้ดังนี้ คือ
 
  1. ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ ( Fixed Resistors )
  2. ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ ( Tapped Resistor )
  3. ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ( Adjustable Resistor )
  4. ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ ( Variable Resistor )
  5. ตัวต้านทานชนิดพิเศษ ( Special Resistor )

รูปแสดง รูปร่างของตัวต้านทานชนิดต่าง ๆ
  ตัวต้านทานชนิดคงที่
  ตัวต้านทานชนิดคงที่เป็นตัวต้านทานที่ผลิตขึ้นมามีค่าความต้านทานคงที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สามารถสร้างให้มีค่าความต้านทานกว้างมาก ตั้งแต่ค่าต่ำเป็นเศษส่วนของโอห์มไปจนถึงค่าสูงสุดเป็นเมกกะโอห์มขึ้นไป ผลิตมาใช้งานได้ทั้งประเภทโลหะและประเภทอโลหะ โดยเรียกตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิต เช่น ไวร์วาวด์ ฟิล์มโลหะ คาร์บอนและฟิล์มคาร์บอน เป็นต้น ค่าทนกำลังไฟฟ้ามีตั้งแต่ 1/16 วัตต์ ถึงหลายร้อยวัตต์ รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานแบบคงที่แสดงดังรูป



รูป ตัวต้านทานแบบคงที่
  ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้
  ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ คือ ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ชนิดหนึ่ง มีค่าความต้านทานคงที่ตายตัวเหมือนตัวต้านทานแบบคงที่ ในตัวต้านทานแบบคงที่นี้มีการแบ่งค่าตัวต้านทานออกเป็นสองค่าหรือสามค่าภายในตัวต้านทานเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงมีขาต่อออกมาใช้งานมากกว่า 2 ขา เช่น 3 ขา 4 ขา และ 5 ขา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้งาน ดังรูป



รูป ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้


  ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้
  ตัวต้านทานชนิดนี้เป็นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้นทานที่ต้องการใช้งานได้ โดยบนที่ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีปลอกโลหะหลวมอยู่ และสามารถเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ได้ความต้านทานที่ต้องการ มีสกรูขันยึดปลอกโลหะให้สัมผัสแน่นกับเส้นลวดที่ตัวต้านทาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง การใช้งานของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ จะใช้ค่าความต้านทานเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งที่ปรับไว้เท่านั้น รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้นทานแบบเปลี่ยนค่า แสดงดังรูป
           
รูป ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้
  ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้   
  ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับเปลี่ยนความต้านทานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ตั้งแต่ค่าความต้านทานต่ำสุด ไปจนถึงความต้านทานสูงสุดของตัวมันเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้แกนหมุนหรือเลื่อนแกน ดังนั้นจึงมีโครงสร้างเป็นรูปโค้งเกือบเป็นวงกลม (แบบแกนหมุน) หรืออาจเป็นแท่งยาว (แบบเลื่อนแกน) มีขาออกมาใช้งาน 3 ขา ที่ขากลางเป็นตัวปรับเลื่อนค่าไปมาได้ วัสดุที่นำมาใช้เป็นตัวต้นทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้จะใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับตัวต้นทานชนิดค่าคงที่ คือแบบคาร์บอน และแบบไวร์วาวด์ รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดนี้แสดงดังรูป





รูป แสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปลค่าได้
ตัวต้านทานชนิดพิเศษ
  ตัวต้านทานแบบพิเศษ
เป็นตัวต้านทานที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะหน้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ตามอุณหภูมิหรือความเข้มแสงที่มาตกกระทบตัวต้านทาน เช่น ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เทอร์มิสเตอร์ (Themistor) และแอลดีอาร์ (LDR;Light Dependent Resistor)เป็นต้น
1. ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor)
    เป็นตัวต้านทานที่ใช้ทำหน้าที่แทนฟิวส์ เพื่อป้องกันความเสียหายของวงจรเมื่อมีการกระจายกระแสไหลผ่านวงจรมากเกินค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ตัวต้านทานขาดทันที โดยทั่วๆ ไปตัวจ้านทานชนิดนี้จะมีค่าประมาณ 0 – 200 โอห์ม

รูปแสดงสัญลักษณ์ของฟิวส์รีซิสเตอร์

    2. เทอร์มิสเตอร์ หรือตัวต้านทานความร้อน(Themal Resistor)
    เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงอาจไม่เป็นเชิงเส้น (Non – Linear) และแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิต โครงสร้างและส่วนประกอบภายในมักนำมาจากธาตุเยอรมันเนียมและซิลิคอน หรือโคบอลต์ นิกเกิล ทองแดง แพลทินัม เหล็ก และแมงกานีส เป็นต้น รูปร่างที่ผลิขึ้นมาใช้งานมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เช่น รูปจาน แท่งทรงกระบอก ลูกประคำหรืออื่นๆ รูปร่างและสัญลักษณ์ของเทอร์มิสเตอร์ แสดงดังรูปที่13.16 คุณสมบัติของตัวเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมี 2 ชนิด คือ ชนิด NTC และชนิด PTC
   
  1. ชนิด NTC (Negative Temperature Coefficient) หรือเทอร์มิสเตอร์แบบลบ เป็นเทอร์มิสเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานตรงข้ามกับอุณหภูมิ กล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิต่ำลงเทอร์มิสเตอร์จะมีความต้านทานเพิ่มขึ้น และเมื่ออุณภูมิสูงขึ้นเทอร์มิสเตอร์จะมีความต้านทานลดลง
  2. ชนิด PTC (Positive Temperature Coefficient) หรือเทอร์มิสเตอร์แบบบวก เป็นเทอร์มิสเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเป็นไปตามค่าอุณหภูมิ คือ เมื่ออุณหภูมิต่ำลง เทอร์มิสเตอร์จะมีความต้นทานลดลงและเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เทอร์มิสเตอร์จะมีความต้านทานเพิ่มขึ้น

รูปแสดง เทอร์ทิสเตอร์ชนิดต่าง ๆ
    3. แอลดีอาร์ (LDR) หรือ ตัวต้านทานพลังงานแสง (Photo Rs-sistor)
   

เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนสภาพการนำไฟฟ้าได้เมื่อมีความเข้มแสงมาตกกระทบตัวมัน คือ เมื่อแสงสว่างตกมากระทบน้อย LDR จะมีความต้านทานสูง และเมื่อแสงสว่างมาตกกระทบมาก LDR จะมีความต้านทานต่ำตัวต้านทานชนิดนี้จะทำมาจากวัสดุสารกึ่งตัวนำประเภทแคดเมียมซัลไฟด์ (CdS) หรือแคดเมียมซิลิไนด์ (CdSe) รูปร่างและสัญลักษณ์ของ LDR แสดงดังรูป

   

รูป ตัวต้านทานพลังงานแสง (LD

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 8,329 Today: 4 PageView/Month: 11

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...